เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 2.อุปปัตตานุปปัตติวาร 1.กามธาตุ
ผัสสะ 7 ในกามธาตุ เป็นไฉน
ผัสสะ 7 ในกามธาตุ คือ
1. จักขุสัมผัส
ฯลฯ
7. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ 7 ในกามธาตุ (8)
เวทนา 7 ในกามธาตุ เป็นไฉน
เวทนา 7 ในกามธาตุ คือ
1. เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
7. เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เวทนา 7 ในกามธาตุ (9)
สัญญา 7 ในกามธาตุ เป็นไฉน
สัญญา 7 ในกามธาตุ คือ
1. สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
7. สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า สัญญา 7 ในกามธาตุ (10)
เจตนา 7 ในกามธาตุ เป็นไฉน
เจตนา 7 ในกามธาตุ คือ
1. เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
7. เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เจตนา 7 ในกามธาตุ (11)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :641 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [18.ธัมมหทยวิภังค์] 2.อุปปัตตานุปปัตติวาร 2.รูปธาตุ
จิต 7 ในกามธาตุ เป็นไฉน
จิต 7 ในกามธาตุ คือ
1. จักขุวิญญาณ 2. โสตวิญญาณ
3. ฆานวิญญาณ 4. ชิวหาวิญญาณ
5. กายวิญญาณ 6. มโนธาตุ
7. มโนวิญญาณธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า จิต 7 ในกามธาตุ (12)

2. รูปธาตุ
(ธาตุในรูปภูมิ)
[993] ในรูปธาตุ ขันธ์มีเท่าไร ฯลฯ จิตมีเท่าไร
ในรูปธาตุ ขันธ์มี 5 อายตนะมี 6 ธาตุมี 9 สัจจะมี 3 อินทรีย์มี 14 เหตุ
มี 8 อาหารมี 3 ผัสสะมี 4 เวทนามี 4 สัญญามี 4 เจตนามี 4 จิตมี 4
[994] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ 5 ในรูปธาตุ เป็นไฉน
ขันธ์ 5 ในรูปธาตุ คือ
1. รูปขันธ์
ฯลฯ
5. วิญญาณขันธ์
เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ 5 ในรูปธาตุ (1)
อายตนะ 6 ในรูปธาตุ เป็นไฉน
อายตนะ 6 ในรูปธาตุ คือ
1. จักขายตนะ 2. รูปายตนะ
3. โสตายตนะ 4. สัททายตนะ
5. มนายตนะ 6. ธัมมายตนะ
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ 6 ในรูปธาตุ (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :642 }